วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เวียนหัว มึนหัว จากภาวะความดันโลหิตต่ำ

อย่างที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า อาการเวียนหัว มึนหัว นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุมากและอาจเ็ป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายต่างๆได้ด้วย บทความนี้จะกล่าวถึงอีกสาเหตุหนึ่งของอาการเวียนหัว มึนหัว ที่พบได้่บ่อย และหลายคนมักไม่ทราบ นั่นคืออาการเวียนหัวจากความดันโลหิตต่ำ

โรคความดันโลหิตต่ำ ( Hypotension )
โรคความดันโลหิตต่ำพบน้อยกว่าโรคความดันโลหิตสูง และมีอันตรายน้อยกว่าผู้ที่ความดันโลหิตสูง และมีการดำเนินชีวิตที่สบายกว่า ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำจะวัดค่าความดันโลหิตได้ ดังนี้ตามเกณฑ์

สำหรับชายและผู้หญิง Systolic Pressure 80-100 มม.
ปรอท Diastolic Pressure 50-60 มม. ปรอท สาเหตุของความดันโลหิตต่ำ ยังไม่มีคำอธิบายที่
แน่นอน แต่ส่วนใหญ่เป็นพันธุกรรมหรือเป็นมาแต่กำเนิดหรือไม่ทราบสาเหตุแน่นอนเรียกว่า
Idiopathic Hypotension

อาการ อาการเด่นของความดันโลหิตต่ำืคือเวียนหัว มึนหัว

อย่างที่ทราบกันดีว่า อาการเวียนหัวเกิดจากสาเหตุหลักหนึ่งคือ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ดังนั้นคนที่มีความดันโลหิตต่ำย่อมมีแรงดันเลือดที่ส่งไม่ถึงสมอง ทำให้เกิดภาวะขาดเลือด และเกิดอาการเวียนหัว มึนหัวขึ้นได้ตลอดเวลา

ดังนั้นส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ มักไม่มีอาการอะไรมากนัก อาการสำคัญคือ จะมีอาการเวียนหัวง่าย เวลาลุกขึ้นยืนเร็วๆ เช่นเวลานั่งยองๆ แล้วลุกขึ้นยืน หรือกำลังนอนอยู่แล้วลุกขึ้นเร็วๆ จะเกิดอาการเวียนหัวเป็นครั้งคราวชั่วระยะหนึ่ง แล้วบางครั้งก็ดูปกติดีแต่ถ้า
อดนอนหรือนอนไม่พอก็จะมีอาการเวียนหัวและอ่อนเพลียด้วย

เมื่อเปลี่ยนจากท่านอนเป็นลุกขึ้นนั่งหรือยืน จะมีอาการหน้ามืดวิงเวียนจะเป็นลมเนื่องจากเลือดไปเลี้ยง
สมองไม่พอ อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า ตาลายร่วมด้วย แต่สักครู่หนึ่งก็หายเป็นปกติ

การวัดความดันโลหิต มักพบว่าความดันซิสโตลิก (ช่วงบน) ที่วัดในท่ายืนต่ำกว่าท่านอนมากกว่า 30
มิลลิเมตรปรอท เช่น ในท่านอนวัดได้ 130/80 แต่ในท่ายืนจะวัดได้ 90/60

การรักษา
รักษาตามสาเหตุ
- ถ้าไม่มีสาเหตุชัดเจน อาจต้องตรวจเลือด ปัสสาวะ และอื่น ๆ ที่จำเป็น
- ควรแนะนำให้ลุกขึ้นนั่งหรือยืนช้า ๆ อย่าลุกพรวดพราด เพื่อให้ร่างกายปรับตัว
- ออกกำลังกายบ้าง เพื่อช่วยให้หัวใจแข็งแรง
- ถ้ามีปัญหาเรื่องขาดอาหาร ก็ควรให้สารอาหารชดเชย เช่น
- กรดโฟลิคจากน้ำผึ้งช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
- กรดอะมิโนในสาหร่ายเกลียวทองเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อผนังเส้นเลือดและระบบประสาทอัตโนมัติ
- วิตามิน เกลือแร่ ในว่านหางจระเข้ช่วยให้เกิดสมดุลของความดันโลหิต
- วิตามินซี ช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยม ธาตุเหล็กและกระบวนการเมตาโบลิซึมของร่างกาย
- วิตามินอีในเมล็ดทานตะวันช่วยลดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สาเหตุของอาการมึนหัว เวียนหัวที่พบบ่อย

อาการเวียนหัว มึนหัว อาจเกิดได้นานๆครั้งหรือเป็นบ่อยเป็นประจำ ลองมาดูสาเหตุของอาการเวียนหัว มึนหัว แล้วลองสังเกตุตนเองดูครับ

1. เวียนหัว มึนหัวจากการเคลื่อนไหว

เช่นเมารถ เมาเรือ เคลื่อนไหวเป็นวงกลมหรือกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว อาการเวียนหัว มึนหัว บ้านหมุน นั้น อาจเกิดขึ้นได้่บ่อยครั้งจากการเดินทางด้วยรถด้วยเรือ หรือเครื่องบิน หรือจากการเล่นเครื่องเล่นในสวนสนุกเช่นเวียนหัว มึนหัวจากการเล่นม้าหมุน เล่นชิงช้า รถไฟเหาะ ซึ่งบางรายมีอาการเวียนหัว มึนหัวพร้อมกับคลื่นไส้อาเจียนเลยทีเดียว การเล่นเครื่องเล่นที่มีการเคลื่อนไหววนเวียนหรือขึ้นๆ ลง หรือเหวี่ยงไปมาเป็นอีกสาเหตุที่พบอาการเวียนหัว มึนหัว ได้เกือบร้อยเปอเซนต์

ถ้าอาการเวียนหัว มึนหัว เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว เรามักจะเรียกว่า เป็นอาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน หรือเมาจากการเคลื่อนไหว (motion sickness)

บางครั้งอาการเมา มึนหัว (เวียนหัว) แบบที่เกิดจากการเคลื่อนไหวนี้อาจเกิดขึ้นขณะนั่งรถดูทิวทัศน์ข้างทางที่วิ่งผ่านไปเรื่อยๆ หรือการมองภาพที่สับไปมาอย่างรวดเร็วเช่นในขณะนั่งดูภาพยนตร์ที่แสดงภาพวิ่ง วิ่งหนีกัน วิ่งไล่กัน หรือมีฉากที่ตัดไปตัดมาอยู่ตลอดเวลาอยู่ตลอดเวลา โดยที่ลำตัวและศีรษะไม่มีการเคลื่อนไหวไปมาถือว่าเป็นการเวียนหัว มึนหัวจากภาวะสายตาเคลื่อนไหวมากเกินไป

บางคนมีร่างกายที่ไวต่อการเมา หรือเวียนหัว มึนหัวในแบบนี้ เช่นนั่งรถไปครู่เดียวก็เริ่มเวียนหัว มึนหัวและอยากอาเจียนหรือไม่สามารถนั่งเครื่องบินได้เลย คนที่เคยชินมักจะเมารถ เมาเรือ หรือเมาแบบนี้ยากกว่าคนที่ไม่เคยชิน

ต่อบทความหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บ้านหมุน เวียนหัว มึนหัว เพราะน้ำในหูไม่เท่ากัน

เมื่อคนไข้ที่มีอาการเวียนหัว มึนหัว มาพร้อมๆกับอาการรู้สึกว่าบ้านหมุน เดินเซ มักถูกแพทย์เหมาเอาว่าเป็นโรคน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน หรือหูชั้นในอักเสบ เพราะมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับอาการมึนหัว เวียนหัว บ้านหมุนแบบนี้ คำว่าน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นคำพูดติดปากถึงกับมีคนไข้เข้าใจผิดคิดว่า เกิดจากน้ำเข้าไปในหูขณะอาบน้ำทำให้เกิดอาการขึ้นมา
แต่ในความเป็นจริงตำแหน่งที่เกิดโรคคือ หูชั้นใน ซึ่งน้ำไม่สามารถเข้าไปได้ เป็นระบบที่ร่างกายมีอยู่แล้วเพื่อประโยชน์ในการทรงตัวที่อยู่ลึกเข้าไปหลังแก้วหู การเกิดอาการเวียนหัว มึนหัว บ้านหมุนนั้นไม่เกี่ยวกับน้ำเข้าหูจากภายนอกอย่างเด็ดขาด

โรคเวียนหัว เดินเซ มึนหัวจากภาวะน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน หูชั้นในอักเสบหรือ โรคเมเนียร์ (Meniere's disease) พบค่อนข้างบ่อยมาก ที่สุดในผู้่ป่วยเวียนหัวที่มีอายุน้อย เป็นโรคที่พบอันดับสองของสาเหตุอาการเวียนหัว โดยมักเริ่มเป็นหูข้างใดข้างหนึ่งก่อน และมีประมาณ 15-20% ของผู้ป่วยเวียนหัว มึนหัวที่เป็นหูชั้นในอักเสบทั้งสองข้าง

สาเหตุของโรค

-ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด

-กลุ่มที่มีปัจจัยที่อาจจะเป็นสาเหตุ เช่น

1. กรรมพันธุ์ มีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติ แต่กำเนิด
2. โรคภูมิแพ้
3. การติดเชื้อไวรัส, หูชั้นกลางอักเสบ, หูน้ำหนวก, ซิฟิลิส
4. ประวัติเคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะ
5. โรคทางกาย เช่น เบาหวาน, ไทรอยด์, ไขมันในเลือดสูง

อาการของโรค

1. อาการเวียนหัว มึนหัว เดินเซ ทรางตัวลำบาก รู้สึกว่าบ้านและสิ่งรอบๆตัวหมุนตลอดเวลา : อาการเกิดขึ้นมักทันทีทันใด ประมาณว่าอยู่เฉย ๆ ก็เวียนหัว เดินไม่ได้ขึ้นมาและส่วนใหญ่จะคงอยู่นานเกินกว่า 20 นาที บ่อยครั้งที่เป็นนานหลายชั่วโมง จนถึงเวียนหัว มึนหัวอยู่จนครบวัน และอาจรุนแรงถึงขึ้นเดินไปไหนมาไหนไม่ได้เพราะรู้สึกว่าบ้านหมุน จะล้มตลอดเวลาแต่ไม่ทำให้หมดสติ หรือเป็นอัมพาต นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก, คลื่นไส้, อาเจียน

2. มักเกิดการเวียนหัวร่วมกับการได้ยินลดลง : เนื่องจากสาเหตุเกิดขึ้นในหูขณะมีอาการเวียนหัว ซึ่งระยะแรกอาจเป็น ๆ หาย ๆ การแต่การได้ยินก็มักจะกลับมาดีขึ้นจนเป็นปกติเมื่ออาการเวียนหัว มึนหัวหายไป แต่ถ้าเป็นซ้ำ ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง มักส่งผลกระทบจนการได้ยินมักจะเสื่อมลงเรื่อย ๆ และไม่กลับคืนมา จนทำให้หูตึงได้เลยทีเดียว

3. หูอื้อ เสียงดังในหู : ซึ่งเกิดขึ้นในหูข้าง ที่ผิดปกติ อาจเป็นตลอดเวลา หรือเฉพาะเวลาเวียนศีรษะก็ได้

4. อาการหนัก ๆ หน่วง ๆ ในหู : คล้ายมีแรงดันในหูผู้ป่วยบางรายอาจบอกว่าปวดหน่วง ๆ ภายในหู ความถี่และความรุนแรงของอาการแต่ละคนไม่เหมือนกันบางคนเป็นปีละครั้ง บางคนเป็นหลาย ๆ เดือนครั้ง ไม่แน่นอน และระยเวลาในการเป็นก็ไม่เท่ากันด้วย บางคนปวดหู เวียนหัว พร้อมๆกันนานเป็นเดือน

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การรักษาเบื้องต้นเมื่อมึนหัว เวียนหัว บ้านหมุน

การดูแลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการเวียนหัว เป็นสิ่งจำเป็นมากที่ทำให้อาการทุเลาได้เร็ว และไม่รุนแรงขึ้น หากปล่อยไว้นานอาจทำให้อาการมึนหัว เวียนหัว บ้านหมุนจะยิ่งรุนแรงขึ้นเพราะการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ และความเครียด

อาการเวียนหัว มึนหัว หน้ามืด เป็นลมแบบทั่วไป หรือที่เรียกว่าเวียนหัวแบบ Lightheadedness ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงและจะหายได้เองในเวลาเพียงไม่นาน แต่ถ้ามีอาการผิดปกติไปจากเดิมที่เคยเป็น คืออาการเวียนหัว มึนหัวไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไปนานแล้ว มีการเต้นหัวใจผิดปกติ หรือหมดสติเฉียบพลันหลังจากเริ่มเวียนหัว ควรพบแพทย์ และที่สำคัญคือการป้องกันการหกล้ม

- ไม่ควรขับรถ หรือเครื่องจักร หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- ให้นอนราบหนึ่งถึงสองนาที เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น หลังจากนั้นถ้าดีขึ้นแล้ว ให้ลุกขึ้นช้า ๆ หากไม่มีอาการค่อยลุกขึ้นช้า ๆ
- พักผ่อน บางครั้งจะมีอาการช่วงที่พักผ่อนไม่พอ หรือเป็นหวัด จึงควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดอาการ
- อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ ถ้ามีอาการท้องเสียหรืออาเจียน ควรดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนเพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
- ไม่ควรใช้สารที่อาจจะมีผลต่อการไหลเวียนเลือดเช่น บุหรี่ กาแฟ เหล้า

ถ้าคุณมีอาการเวียนหัว มึนหัว ร่วมกับอาการบ้านหมุนหรือที่เรียกว่าเวียนหัวแบบ vertigo:
- พยายามอย่านอนราบไปกับพื้น แต่ให้นอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้นเล็กน้อย จะช่วยบรรเทาอาการเวียนหัวแบบบ้านหมุนได้ดีกว่า
- เมื่อเริ่มมีอาการเวียนหัว บ้านหมุน ให้พยายามระมัดระวัง เคลื่อนไหวให้ช้าลง เพื่อป้องกันการหกล้ม

หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม
- มีคลื่นไส้หรืออาเจียนอาการเป็นมากขึ้น
- มีภาวะขาดน้ำปานกลางหรือรุนแรง
- มีภาวะหมดสติ
- อาการไม่ดีขึ้นใน 1 สัปดาห์
- มีอาการบ่อย หรือรุนแรง
- คุณสามารถป้องกันอาการหน้ามืดเวียนหัวได้โดย
- เวลาลุกขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอน ให้ช้าลง

เวียนหัวมึนหัวแบบ Lightheadedness

Lightheadedness
เวียนหัวมึนหัวแบบแรกที่จะพูดถึงคือเวียนหัวแบบ Lightheadedness
เป็นอาการเวียนหัวแบบทั่วๆไป คือมีอาการมีนงง หน้ามืด จะเป็นลมเหมือนจยืนไม่อยู่ พบได้บ่อย อาการเวียนหัว มึนหัวชนิดนี้ส่วนใหญ่จะไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง และจะเป็นเพียงชั่วครั้งคราวไม่เกิน 1 วันมักจะเกิดจากภาวะที่มีความดันโลหิตต่ำลงเฉียบพลันและเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อีกสาเหตุหนึ่งคือน้ำตาลในโลหิตลดต่ำลงมาก บางครั้งเกิดขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เช่นนั่งอยู่แล้วลุกขึ้นเร็วเกินไป

สาเหตุอื่นๆทำให้เกิดอาการเวียนหัว มึนหัว แบบ Lightheadednessได้แก่:

- เวียนหัวจากอาการภูมิแพ้
- เวียนหัวจากผลจากอาการป่วยอย่างอื่น เช่นไข้หวัด หรือจากรักษาหวัดบางชนิด
- เวียนหัวจากการขาดน้ำในร่างกาย เช่นจากไข้ ท้องเสียอย่างรุนแรง หรืออาเจียน
- เวียนหัว มึนหัวจากความเครียด หรือภาวะที่มีการหายใจเร็วและหายใจตื้น ๆ มากเกินไป
- เวียนหัวการใช้บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด

ในบางครั้งสาเหตุที่อันตรายก็มีได้แต่ก็มักเป็นสาเหตุที่รู้กันหรือเรียกได้ว่าวินิจฉัยไม่ยาก เช่น จากการเสียเลือด หรือมีเลือดออกทำให้ความดันเลือดต่ำ เช่นเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือมีประจำเดือนมากผิดปกติ ถ้าปริมาณเลือดออกค่อนข้างมาก และเป็นแบบเฉียบพลันจะทำให้มีอาการเวียนหัว มึนหัวได้ในทันที

เวียนหัว มึนหัว บ้านหมุน เป็นอย่างไร

อาการเวียนหัว มึนหัว ร่วมกับอาการทรงตัวลำบาก เดินเซ รู้สึกว่าบ้านหมุนเป็นอาการชนิดหนึ่งที่พบได้ทุกวัย มิใช่จะเกิดกับผู้สูงอายุเสมอไป แต่จริงๆแล้วส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีแนวโน้มที่คนวันทำงานจะเวียนหัว บ้านหมุน มึนหัวตลอดทั้งวัน หรืออาจนานเป็นเดือน เป็นปีกันมากขึ้น ไม่ว่าอาการเวียนหัว มึนหัว หรือแม้แต่รู้สึกว่าบ้านหมุนเกิดกับใครจะมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก หรือขณะเดินทางยิ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ขี่จักรยาน ขับรถยนต์ ว่ายน้ำ เดินลัดเลาะตามที่สูง ไหล่เขา ริมทะเล ล้วนทำให้เกิดอันตราย ถ้ากะทันหันมีคนช่วยเหลือไม่ทัน

เวียนหัวหรือเวียนศีรษะ หรือบางคนอาจเรียกง่ายๆ่ว่า มึนหัว กินความหมายกว้างมาก ซึ่งหมายถึงอาการเวียนหัวอาจรุนแรงน้อยมากๆ ไปจนถึงลุกไม่ขึ้นเดินไม่ได้ เพราะรู้สึกว่าบ้านหมุน สิ่งรอบตัวหมุนอยู่ตลอดเวลา อาจเล็กน้อยเพียงมึนๆ งงๆ หนักศีรษะ ตัวเบา ลอย คล้ายจะล้ม ไปจนถึงอาการรุนแรงจริงๆ จะเกิดมีความรู้สึก 2 อย่าง อย่างแรกตัวเราอยู่นิ่ง แต่สิ่งแวดล้อมรอบตัวเคลื่อนที่ หมุน หรืออีกแบบหนึ่ง ตัวเราเองรู้สึกว่ากำลังหมุน เคลื่อนที่ ในขณะที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่นิ่ง ทั้งสองแบบจะมึนหัวเวียนหัวหรือบ้านหมุนด้วยกันทั้งคู่

อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับอาการเวียนหัว มึนหัว บ้านหมุน หรือจะบอกว่าอวัยวะที่จะทำให้เกิดการเวียนหัวคือ เรื่องของหู ตา และ ระบบประสาท 3 ส่วนหลักที่เป็นสาเหตุของอาการเวียนหัวจะส่งคลื่นมายังสมองเป็นศูนย์กลางการควบคุม ทั้ง 3 อย่างต้องทำงานด้วยกัน ประสานกันพอดีไม่ขาดไม่เกิน แต่ในบางกรณีที่ระบบใดระบบหนึ่งทำงานผิดปกติหรือมากเกินไปหรืออยู่ไม่นิ่งก็จะทำให้เกิดอาการมึนหัว เวียนหัวขึ้นมา เช่น เวลาเรานั่งรถที่กำลังวิ่งแล้วอ่านหนังสือ คนที่หู ตา ประสาท มั่นคงจะไม่เป็นอะไร ผู้ที่อ่อนไหว ตาไม่ค่อยดี อ่านหนังสือขณะรถเคลื่อนที่ เขย่าอาจเวียนหัวได้
Virtigo จะหมายถึงเวียนหัว มึนหัวแบบมีการเคลื่อนไหวหรือที่เรียกว่าอาการบ้านหมุนนั่นเอง Dizziness หมายถึงอาการเวียนหัวทั่วๆ ไป Light headedness เบาโหวงๆ, Unsteadyness เดินเซ ทรงตัวไม่ได้, Loss Balance รู้สึกมีความไม่สมดุลของร่างกาย

นพ.วิรัช ทุ่งวชิรกุล แพทย์ทางโสต ศอ นาสิก หัวหน้างานโสตประสาท รพ.ราชวิถี หัวหน้าคือ นพ.เกียรติยศ โคมิน ผู้สนใจและมีประสบการณ์ทางด้านเวียนหัวมาก ไปศึกษาต่างประเทศเรื่องเวียนหัวมาเล่าให้ฟังว่า เวลาคนไข้ไปหาหมอ มีอาการเวียนหัวแล้วเล่าอาการต่างๆ ให้คุณหมอฟัง มักได้คำตอบจากคนไข้ว่า หมอเขาบอกว่าคงเกิดจากน้ำในหูไม่เท่ากัน คุณหมอวิรัชบอกว่า เวียนหัวจากน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นเป็นไปได้ แต่จากประสบการณ์พบน้อยมากอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ อีกได้